ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลสยาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สยาม เอฟ.ซี.
Siam F.C.
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลสยาม (Siam Football Club)
ฉายาสยามสปิริต (Siam Spirit)
ก่อตั้ง2006; 18 ปีที่แล้ว (2006) ในชื่อ “สมาคมกีฬาบางกอกกล๊าส” (Bangkok Glass Sport Association)
สนามสนามกีฬามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
อำเภอธัญบุรี ปทุมธานี
ประธานเทวิน นฤหล้า
หัวหน้าผู้ฝึกสอนสเปน มาตู กอนเด
ลีกไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
2565–66ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล, อันดับที่ 14 (ตกชั้น) ลดลง
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลสยาม หรือ สยาม เอฟ.ซี. เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันเล่นในไทยแลนด์ เซมิโปรลีก

ประวัติสโมสร

[แก้]

สโมสรฟุตบอลสยามก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 ในชื่อแรกเริ่มคือ สมาคมกีฬาบางกอกกล๊าส เป็นสโมสรฟุตบอลของโรงงานบางกอกกล๊าส ซึ่งเป็นโรงงานในเครือของสิงห์ คอร์เปอเรชั่น เพื่อส่งเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่นถ้วยพระราชทานฯ เป็นฟุตบอลลีกสมัครเล่นของทางสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยในขณะนั้น หลังจากที่ฝ่ายบริหารสมาคมกีฬาบางกอกกล๊าสได้เข้าเทคโอเวอร์สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทยจากไทยพรีเมียร์ลีกในปี พ.ศ. 2552 และได้เปลี่ยนแปลงสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทยเป็นสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส สมาคมกีฬาบางกอกกล๊าสที่อยู่ในดิวิชั่นถ้วยพระราชทานฯก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นสโมสรฟุตบอลรังสิต หรือ รังสิต เอฟ.ซี. และเป็นทีมน้องของสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ต่อมา รังสิต เอฟ.ซี. ได้เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลธนบุรี บีจี ยูไนเต็ด และเปลี่ยนแปลงกลับมาใช้ชื่อ รังสิต เอฟ.ซี. ตามลำดับ

หลังจากที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งเป็นผู้จัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบลีกอาชีพและให้สโมสรระดับอาชีพสามารถส่งทีมสำรองหรือทีมบีเข้าร่วมการแข่งขันไทยลีก 4 ผู้บริหารสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าสจึงเปลี่ยนแปลง รังสิต เอฟ.ซี. เป็น สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ทีมบี หรือ บางกอกกล๊าส เอฟ.ซี. บี เพื่อเป็นทีมสำรองของ บีจีเอฟซี ต่อมาสโมสรได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นสโมสรฟุตบอลบีจีซี หรือ บีจีซี เอฟ.ซี. และในปี พ.ศ. 2562 สโมสรเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่เป็นสโมสรฟุตบอลสยาม หรือ สยาม เอฟ.ซี. และได้แยกทีมออกจากการเป็นทีมน้องและทีมสำรองของสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส หรือ สโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ในปัจจุบัน[1]

ในฤดูกาล 2019 สโมสรได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านกีฬาฟุตบอลกับวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม[2]

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย อัครเดช แจ้งพร
3 DF ไทย วิศวะ พึ่งสวัสดิ์
7 FW ไทย ชินวัตร ชีมุล
8 MF ไทย อิศวเรศ สุขกันหา
10 MF ไทย จักรวุฒิ เมฆวัน
11 FW ไทย วรินทร์ นฤหล้า (กัปตันทีม)
15 FW ไทย ชัยอนันต์ พานุช
19 DF ไทย วีระยุทธ แจ่มเจริญ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
22 DF ไทย ณพนันท์ ทิพย์อักษร
24 DF ไทย ศุภเสกข์ วงศ์บุญมาก
27 GK ไทย พิริยะ ศิริอักษรสาสน์
29 MF ไทย ดนุเดช นาคสิงห์
30 FW ไทย ปกรณ์ ช่างเหลา
34 DF ไทย คงเดช บ่อหน่าย
42 MF ไทย วีรวัฒน์ เกิดปั้น
45 MF ไทย ภาสกร คุ้มธเรศ
77 DF ไทย ราม โสภาพรม
88 GK ไทย วรเมธ ยอดสนิท
92 DF ไทย กิรติ แก้วมาลัยรัตน์

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2564–65 ไทยลีก 3
โซนกรุงเทพและปริมณฑล
26 8 11 7 26 32 35 อันดับที่ 6 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม กานา ซาร์โฟ โอทิส อัดเจ 9
2565–66 ไทยลีก 3
โซนกรุงเทพและปริมณฑล
26 4 8 14 17 38 20 อันดับที่ 14 รอบแรก รอบคัดเลือกรอบสอง กานา ซาร์โฟ โอทิส อัดเจ 8
แชมป์ รองแชมป์ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]